วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17

วันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลา 08:30 - 12:30น.






สรุปบทความ

การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ


วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญา
การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา

 และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย 
ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้
เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล

...................................................................................................................


สรุปงานวิจัย

วิจัยเรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพราะปลูกพืช
โดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์
ของ
บุญญฺสา วงเวียน

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สิงหาคม 2556
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช โดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้และเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ในช่วงการทดลอง
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เลือก 1 ห้องเรียนหลังจากนั้น สุ่มนักเรียนจาก 24 คน มาจำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้การทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 60 นาที
 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญา เพื่อการเรียนรู้และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย
 มัธยฐาน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ
ผลการวิจัยพบว่า
1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 9 ด้าน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเกือบทุกช่วงของการเปรียบเทียบ
 2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีพัฒนาการทางพหุปัญญาเกือบทุกด้านอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านมิติ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล ด้านความเข้าใจตนเอง และด้านอัตถภวนิยม จิตนิยมหรือการดำรงอยู่ของชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละช่วงของการเปรียบเทียบ     

        















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น