วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17

วันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลา 08:30 - 12:30น.






สรุปบทความ

การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ


วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญา
การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา

 และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย 
ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้
เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล

...................................................................................................................


สรุปงานวิจัย

วิจัยเรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพราะปลูกพืช
โดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์
ของ
บุญญฺสา วงเวียน

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สิงหาคม 2556
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช โดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้และเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ในช่วงการทดลอง
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เลือก 1 ห้องเรียนหลังจากนั้น สุ่มนักเรียนจาก 24 คน มาจำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้การทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 60 นาที
 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญา เพื่อการเรียนรู้และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย
 มัธยฐาน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ
ผลการวิจัยพบว่า
1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 9 ด้าน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเกือบทุกช่วงของการเปรียบเทียบ
 2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีพัฒนาการทางพหุปัญญาเกือบทุกด้านอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านมิติ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล ด้านความเข้าใจตนเอง และด้านอัตถภวนิยม จิตนิยมหรือการดำรงอยู่ของชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละช่วงของการเปรียบเทียบ     

        















วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันที่ 22 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลา 08:30 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ
ชั่วโมงเรียนครั้งสุดท้ายก่อนปิดภาคเรียนวันนี้อาจารย์สรุปเนื้อหาที่เรียนผ่านมาและทบทวนขั้นตอนการทำของเล่นและวิธีการสอนเด็กดังนี้
1.สังเกตอุปกรณ์
2.แนะนำอุปกรณ์
3.ตั้งประเด็นปัญหา เมื่อเด็กๆตอบแล้วครูต้องรับฟังเพราะจะส่งเสริมให้เด็กเกิดความมั่นใจและกล้าแสดงออก
4.เปิดวีดีโอใน youtube ให้เด็กดูขั้นตอนการประดิษฐ์
5.ทบทวนให้เด็กฟังอีกรอบ
6.ครูสาธิตให้เด็กดู
7.ให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์โดยการ
- แบ่งกลุ่มให้เด็กก่อนแล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมาหยิบอุปกรณ์ไปให้เพื่อนในกลุ่ม
8.เมื่อทำเสร็จแล้วให้ตั้งสมมติฐาน
9.ทดลอง
10.การแข่งขันกัน
11.สรุป


การจัดการเรียนการสอน
- แบบพูดคุยสรุปเนื้อหาที่เรียนมาด้วยกันในห้องเรียน

คำศัพท์
1.assume=ตั้งสมมติฐาน
2.Compete=แข่งขัน
3. point=ประเด็น
4.pick=หยิบ
5.confidently=มั่นใจ

การนำไปประยุกต์ใช้
- เทคนิควิธีการสอนเด็ก

การประเมิน
การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
- มีความสุข
การประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือต่อการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน


การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา







วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันที่ 15 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลา 08:30 - 12:30น.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้แต่ละหน่วยเตรียมตัวมาทดลองสอนซึ่งในหนึ่งหน่วยจะรับผิดชอบสอนหนึ่งวัน


หน่วยผลไม้ สอนวันจันทร์เรียนรู้เรื่องชื่อและประเภทของผลไม้

1.ท่องคำคล้องจองแล้วถามเด็กว่ามีผลไม้ชนิดใดบ้างที่อยู่ในคำคล้องจอง เมื่อเด็กตอบแล้วให้เขียนบันทึกไว้ในกระดาษที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ถามเด็กว่า แล้วเด็กๆยังรู้จักชื่อผลไม้อะไรอีกไหมที่ไม่อยูในกระดาษที่ครูบันทึกไว้ เมื่อเด็กตอบมาให้ครูจดบันทึกไว้

2.ให้เด็กสังเกตดูผลไม้ที่ครูเตรียมมา



3.ครูแนะนำผลไม้ชนิดผลรวมผลเดี่ยว
"เด็กๆสังเกตดูว่าองุ่นมีลักษณะอย่างไร องุ่นมีหลายลูกอยู่ในชอกเดียวกันเรียกว่าผลรวม"


แยกผลรวมออกที่เหลืออยู่ก็จะเป็นผลเดี่ยว


4.การนับชนิดของผลไม้ด้วยการหยิบออก 1 ต่อ 1 เด็กๆลองสังเกตดูว่าผลไม้กลุ่มไหนมีมากกว่ากัน
 เมื่อหยิบออกแล้วผลเดี่ยวยังเหลืออยู่แสดงว่าผลเดี่ยวมาจำนวนมากกว่าผลรวม



หน่วยไข่



เริ่มต้นด้วยการต่อรูปภาพไข่
1.ร้องเพลงให้เด็กๆหลับตาก่อนแล้วค่อยเดินไปแจกชิ้นส่วนให้เด็กแต่ละคน
2.เมื่อแจกครบแล้วบอกเด็กให้ค่อยๆลืมตาขึ้นมา เด็กคนไหนที่มีรูปภาพอยู่ในมือให้นำมาติดที่หน้ากระดาษที่ครูเตรียมไว้
3.เมื่อเด็กช่วยกันติดเสร็จแล้วให้เด็กทุกคนในห้องเรียนช่วยกันตอบว่านี้คือรูปอะไร







3.ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของไข่
 "ไหนบอกครูหน่อยว่านี่คือไข่อะไร"(ไข่ไก่)
"แล้วไข่ไก่มีสีอะไรค่ะ" (สีไข่ไก่)
"มีรูปทรงอย่างไรคะ"(วงรี)
มีกลิ่นคาว
ส่วนประกอบของไข่ไก่ มี เปลือก ไข่แดง ไข่ขาว




4.ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของไข่
 "ไหนบอกครูหน่อยว่านี่คือไข่อะไร"(ไข่เป็ด)
"แล้วไข่ไก่มีสีอะไรค่ะ" (สีไข่เป็ด)
"มีรูปทรงอย่างไรคะ"(วงรี)
มีกลิ่นคาว
ส่วนประกอบของไข่ไก่ มี เปลือก ไข่แดง ไข่ขาว




5.สรุปและทบทวนความเหมือนและต่างกันของไข่ไก่กับไข่เป็ด



หน่วยต้นไม้
เรื่องปัจจัยการดูแลรักษาและการเจริญเติบโต

1.เริ่มต้นด้วยการอ่านคำคล้องจอง
2.เมื่ออ่านจบแล้วครูถามเด็กว่าการดูแลรักษานั้นต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อเด็กตอบให้ครูจดบันทึกไว้




3.ครูให้เด็กสังเกตสิ่งของที่ครูเตรียมมา และชวนเด็กๆมาทำกิจกรรมร่วมกัน



4.ครูแนะนำอุปกรณ์และสาธิตขั้นตอนการปลูกต้นถั่วงอก







6.ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มออกมารับอุปกรณ์ในการปลูกถั่วงอกไปทำกันในกลุ่ม





หน่วยปลา
เรื่องปลาชุบแป้งทอด




1.ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ที่ครูเตรียมมา
"เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันคะ"




2.แนะนำอุปกรณ์และขั้นตอนในการทำปลาชุบแป้งทอด




ฐานหั่นเนื้อปลา




ฐานชุบแป้ง




ฐานทอดปลา




ทุกคนมารอครูทอดปลาและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปลา




การจัดการเรียนการสอน
- ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติทดลองสอน

คำศัพท์
1.demonstration=สาธิต
2.fish fry = ปลาทอด
3.growth=การเจริญเติบโต
4.shell=เปลือก
5.bean sprouts =ถั่วงอก

การนำไปประยุกต์ใช้
- การใช้คำพูดสื่อความหมายให้เด็กฟังแล้วเข้าใจถึงสิ่งที่เรากำลังสื่อสารกับเด็ก
-ขั้นตอนในการสอนต้องมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน

การประเมิน
การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
- ร่วมกิจกรรมต่างกับเพื่อน สนุกมีความสุข

การประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือต่อการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน


การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และตั้งใจฟังในสิ่งที่นักศึกษาทดลองสอน โดยค่อยให้คำแนะนำอยู่เสมอ


















วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่ 8 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลา 08:30 - 12:30น.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการดูคลิปวีดีโอสาธิตการประดิษฐ์ของเล่นฉบับปรับปรุงแก้ไข หลังจากดูจบแล้วอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำคลิปวีดีโอเพื่อนใช้เป็นสื่อในการสอนเด็กทำกิจกรรม
   หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทุกคนไปนั่งตามกลุ่มหน่วยของตนเอง

วีดีโอแก้ไขของกลุ่มคานดีดจากไม้ไอติม



วีดีโอแก้ไขของกลุ่มขวดน้ำนักขนของ



จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละคนในกลุ่มนำเสนอแผนการสอนของตนเองแบบฉบับร่าง

การจัดการเรียนการสอน
- บรรยายให้ความรู้
- การเปิดโอกาศให้แสดงความคิดเห็น

คำศัพท์
1.Season=ฤดูการ
2.factor=ปัจจัย
3.tale=นิทาน
4.Record=บันทึก
5.benefit=ประโยชน์


การนำไปประยุกต์ใช้
- การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่เป็นขั้นเป็นตอนและเหมาะสมกับการสอนเด็ก

การประเมิน
การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน


การประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา


การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน ปี 2559  เวลา 08:30 - 12:30น.




ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการดูวีดีโอสาธิตการทำของเล่นของแต่ละกลุ่ม



กลุ่มที่1 หลอดมหัศจรรย์

กลุ่มที่2 รถพลังงานลม


กลุ่มที่3 คานดีดจากไม่ไอติม

กลุ่มที่4 ขวดน้ำนักขนของ


พัฒนาการด้านร่างกาย
-เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่ จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา
- เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism) เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต
-เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ทำไม” “ทำไมรถจึงวิ่ง” ฯลฯ
- เด็กจะเชื่อมโยงปรากฎการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
พัฒนาการด้านภาษา
พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม “นั่นอะไร” “นี่อะไร” “พ่อไปไหน” เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้ เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม “ทำไม”
พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว
พัฒนาการด้านสังคม- เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้ - เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้ รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ เป็นต้น

จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มช่วยกันคิดหน่วยการเรียนรู้ขึ้นมาในกลุ่ม
สำหรับกลุ่มของดิฉันคือหน่วยอากาศรอบตัวฉัน
คณิตศาสตร์
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสําคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกํากับ ตรวจสอบ และประเมินผล
มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่1 : จํานวนและการดําเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจํานวนและการใช้
จํานวนในชีวิตจริง
สาระที่2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
เงิน และ เวลา
สาระที่3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คําในการบอกตําแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จําแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
รูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทํา
สาระที่4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนําเสนอ
สาระที่6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์
สาระวิทยาศาสตร์   
                1.  สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
               2.  สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
               3.  สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
               4.  สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 
               5.  สาระที่ 5 พลังงาน 
               6.  สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
               7.  สาระที่ 7ดาราศาสตร์และอวกาศ   ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
               8.  สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทักษะ- การสำรวจ
- การสังเกต
- การจำแนก
ภาษา
- การพูด
- การอ่าน
- การเขียน
- การฟัง

ศิลปะ
- วาดภาพ/ระบายสี
- ฉีก/ติด/ปะ
- ปั้น
- ประดิษฐ์
- เล่นกับสี
สังคม
ช่วยให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ เช่น การกิน การหัดพูด การเดิน การหัดขับถ่ายในกระโถนหรือส้วม การล้างทำความสะอาดอวัยวะขับถ่าย การหัดสวมรองเท้าเอง 

สุขศึกษา/พละศึกษา
มาตรฐาน
สาระที่1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการมนุษย์
สาระที่2 ชีวิตและครอบครัว
สาระที่3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย กีฬาสากล
สาระที่4 การสร้างเสริมสุขภาพ
สาระที่5 ความปลอดภัยในชีวิต



หน่วยอากาศรอบตัวฉันนำมาจัดกิจกรรมในแต่ละวัน



การจัดการเรียนการสอน
- บรรยายให้ความรู้และตั้งประเด็นปัญหา

คำศัพท์
1.Growth=การเจริญเติบโต
2.Motion=การเคลื่อนไหว
3.security=ความปลอดภัย
4.survey=การสำรวจ
5.muscle=กล้ามเนื้อ





การนำไปประยุกต์ใช้
- การวางแผนขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กผ่านหน่วยการเรียนรู้ต่าง

การประเมิน
การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
- สนุกมีความสุข

การประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆช่วยกันทำกิจกรรมต่างในชั้นเรียน

การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
- อาจารย์อธิบายขั้นตอนการเขียนแผนพร้อมยกตัวอย่างประกอบทำให้เข้าใจง่าย