วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันที่ 18 เดือน ตุลาคม ปี 2559  เวลา 08:30 - 12:30น.


ความรู้ที่ได้รับ
1.วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำของเล่นมานำเสนอถึงขั้นตอนการทำและวิธีการเล่นของเล่น
ข้อแนะนำ
- ของเล่นแต่ละชิ้นควรเป็นของเล่นที่สามารถใช้เล่นได้หลากหลายแบบ
- ของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นมาสามารถนำไปใช้เข้ามุมต่างๆได้
- ของเล่นสามารถเล่นได้ทุกคนและปลอดภัย
- ของเล่นส่วนตัวควรให้เด็กได้ประดิษฐ์ขึ้นเองเป็นของส่วนตัว


กล้องส่องสะท้อนภาพ



จัดทำโดย
นางสาวสุธาสิณี  อายุมั่น   เลขที่ 4
      นางสาววราพร  สงวนประชา  เลขที่ 19 
 นางสาวทาริกา  เสมวงค์  เลขที่  26
กลุ่มเรียน 101


อุปกรณ์


                 1.คัตเตอร์       7.กระป๋องพริงเกิลส์
    2.กรรไกร        8.ไขควง
3.กาว            9.ค้อน
       4.กล่องลัง       10.ปากเมจิ
           5.แผ่นใส่         11.ไม้บรรทัด
                   6.กระดาษสีดำ   12.กระดาษสีสดใส

วิธีการทำ
ขั้นตอนที่ 1
นำกล่องลังมาวัดขนาด หนึ่งช่อง กว้าง 5 ซม. ยาว 20 ซม. แบ่งเป็นสามช่อง เท่าๆกัน แล้วตัดออกเป็นสามชิ้น




ขั้นตอนที่ 2
นำกระดาษสีดำและแผ่นใสมาวัดขนาด หนึ่งช่อง กว้าง 5 ซม. ยาว 20 ซม. แบ่งเป็นสามช่อง เท่าๆกัน แล้วตัดออกเป็นสามชิ้นเหมือนกล่องลัง









ขั้นตอนที่ 3
ท่ากาวลงที่กล่องลัง แล้วนำกระดาษสีดำมาติดไว้หนึ่งด้านทั้งสามแผ่น



ขั้นตอนที่ 4
นำแผ่นใสมาวางทับกระดาษสีดำ(ไม่ต้องติดกาว) เป็นสามชุด


ขั้นตอนที่ 5
นำมาใส่ในกระป๋องพริงเกิลส์ทีละชุดจนครบทั้งสามชุด จะได้เป็นรูปสามเหลี่ยม

ขั้นตอนที่ 6
-          นำฝาพริงเกิลส์มาวางบนแผ่นใสแล้วตีเส้นตามเป็นวงกลม
-          ตีเส้นปะวงในห่างจากวงนอกครึ่งเซนติเมตร
-          ตัดตามเส้นปะที่อยู่ข้างใน


ขั้นตอนที่ 7
นำมาแผ่นใสวงกลมที่ตัดแล้ววางไว้ในกระป๋องที่เตรียมไว้



ขั้นตอนที่ 8
นำรูปภาพหรือ เศษกระดาษสีๆมาวางไว้บนแผ่นใส แล้วปิดฝากระป๋อง



ขั้นตอนที่ 9
ตกแต่งกระป๋องตามใจชอบ โดยการนำเอากระดาษสีสดใสมาตกแต่ง

ขั้นตอนที่ 10
นำไขควงมาเจาะรูที่ก้นกระป๋อง รูไม่ต้องใหญ่มาก


วิธีเล่น
 ส่องดูตรงรูที่ก้นกระป๋องแล้วค่อยๆหมุน จะเห็นการสะท้อนของสิ่งของเป็นรูปต่างๆ หลายรูป



คณิตศาสตร์
-          การวัดขนาดของกระดาษ รูปทรงของกระดาษ และกระป่อง ชิ้นส่วนของชิ้นงาน
เทคโนโลยี
-          ขั้นตอนในการทำ
ภาษา
-          การสื่อสาร

วิทยาศาสตร์
-          การเล่นของเล่นชิ้นนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของแสง สีต่างๆ และการสะท้อนแสง และยังป็นของเล่นที่สามารถทำเองได้เพื่อใช้ในการเรียนรู้

-           เมื่อแสงเดินทางมากระทบวัตถุแสงจะสะท้อนกลับไปยังตัวกลางเรียกว่าการสะท้อน หรือหักเหเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางเรียกว่าการหักเห การสะท้อนของแสงทำให้เกิดมุมตกกระทบคือมุมที่แสงตกกระทบทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก และมุมสะท้อนคือมุมที่แสงสะท้อนทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก
กฎของการสะท้อนกล่าวว่า “เมื่อเกิดการสะท้อนแสงทุกครั้งมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ


2.แบ่งกลุ่มละ 5 คนช่วยกัน คิดหน่วยการเรียนรู้ 
- ตัวฉัน
- บุคคลสถานที่
- สิ่งต่างๆ รอบตัว
- ธรรมชาติรอบตัว
โดยการบูรณาการผ่านกิจรรมSTEM
1.หน่วยยานพาหนะ
2.หน่วยต้นไม้
3.หน่วยผลไม้
4.หน่วยปลา
5.หน่วยไข่
6.หน่วยดอกไม้
7.หน่วยอากาศรอบตัวฉัน


การจัดการเรียนการสอน





คำศัพท์




การนำไปประยุกต์ใช้



การประเมิน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น